- การติดตั้ง
การติดตั้งหัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic
การติดตั้งหัวระบายน้ำฝน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำรางน้ำฝน ความหนาของรางน้ำฝน ควรมีความหนาอย่างน้อย 1.5 – 2 มิลลิเมตร
- รางสแตนเลส ติดตั้งด้วยวิธีเชื่อม
- มาร์คตำแหน่งที่จะติดตั้งหัวระบายน้ำฝน
- เจาะรูขนาด 220 มิลลิเมตร
- เช็ดทำความสะอาดรางให้เรียบร้อย
- วางชุด Spigot ที่ประกอบเข้ากับ Adapter Flange ลงบนรู
- เชื่อม Spigot ให้รอบ เพื่อยึดตำแหน่ง
- กรีดปะเก็นยางออก
- ใส่ Stud Rod และ Spacer ทั้ง 4 จุด
- ใส่แผ่น Anti-Vortex Plate แล้วขันนัทล็อคทั้ง 4 จุด
- เสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง
- รางโลหะ ติดตั้งด้วยวิธีการยึดนัท
- มาร์คตำแหน่งที่จะติดตั้งหัวระบายน้ำฝน
- เจาะรูขนาด 220 มิลลิเมตร และเช็ดทำความสะอาดรางให้เรียบร้อย
- มาร์คตำแหน่งตามรูที่อยู่บน Backing Ring ลงบน Spigot ให้ครบทั้ง 10 จุด
- เจาะรูลงบน Spigot ตามตำแหน่งที่มาร์คไว้ ให้ครบทั้ง 10 จุด
- นำ Spigot มาวางบนราง แล้วมาร์คตำแหน่งลงบนราง จากนั้นเจาะรูให้ครบทั้ง 10 จุด
- ยิงกาวซิลิโคนลงบนรางแล้ววางปะเก็นยาง จากนั้นยิงกาวซิลิโคนทับบนปะเก็นยางอีกครั้ง
- วาง Spigot ลงทับปะเก็นยาง แล้วใส่ Bolt M6 ให้ครบทั้ง 10 จุด
- ส่วนของใต้ราง ใส่ Backing Ring และใส่ Nut M6 ขันให้แน่นทั้ง 10 จุด
- ใส่ปะเก็นยาง
- ใส่ Adapter Flange ตามด้วย Backing Ring แล้วนำ Nut M6 มาขันทับให้แน่น
- ใส่ Stud Rod และ Spacer ทั้ง 4 จุด (Spacer ให้สูงจากฐาน Spigot ขึ้นมา 3 เซนติเมตร)
- ใส่แผ่น Anti-vortex
- นำ Nut M8 มาใส่ให้ครบทั้ง 4 จุด แล้วขันให้แน่น
- เสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง
- หลังคาคอนกรีต ติดตั้งด้วยวิธีฝังปูน
- เจาะรูที่ปีกของ Spigot เพื่อใช้ Stud Rod ร้อยผ่านเพื่อยึดตำแหน่งหัวระบายน้ำ จำนวน 4 จุด
- เจาะรูที่ไม้แบบเพื่อวาง Sleeve
- วางหัวระบายน้ำฝนรุ่นคอนกรีต ที่ใช้ไม้อัดปิดด้านบนไว้ เพื่อป้องกันปูนหล่นลงไปทำให้ท่ออุดตัน
- ตั้งระดับหัวระบายน้ำฝน ให้ขอบด้านบนสูงระดับเดียวกับ Depressed Floor
- ใช้ลวดผูกเพื่อยึดตำแหน่ง
- ใช้ที่วัดระดับน้ำ เช็คความเอียงของหัว และเชื่อมเพื่อยึดตำแหน่ง
- เทปูน
- เมื่อปูนแห้ง และเดินระบบท่อระบายน้ำฝนเสร็จพร้อมใช้งาน แกะไม้อัดออก
- กรีดปะเก็นยางออก
- ใส่ Stud Rod M8 และใส่ Spacer
- วางแผ่น Anti-Vortex และขัน Nut M8
- เสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง
การติดตั้งท่อระบายน้ำฝน JAS Siphonic
การติดตั้งท่อระบายน้ำฝน JAS Siphonic จะติดตั้งตามแบบ ISOMETRIC Drawing ที่วิศวกรออกแบบเป็นผู้ออกให้ แบบที่ใช้ติดตั้งจะแสดงขนาดท่อ และความยาวท่อตามหน้างานจริง หากหน้างานมีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่สามารถเดินท่อให้ตรงแบบ ISOMETRIC Drawing ได้ ทีมออกแบบจะคำนวณขนาดท่อและความยาวที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ติดตั้งได้ตรงแบบและระบบระบายน้ำฝนไซโฟนิคสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ตัวอย่างแบบ ISOMETRIC Drawing ที่ใช้ในการติดตั้ง
แบบ: Multi-Outlets system
ชนิดท่อ: HDPE
วิธีติดตั้ง: เชื่อมชน
ตัวอย่าง ISOMETRIC Drawing
การติดตั้ง Overflow
การติดตั้ง Overflow ที่รางน้ำฝน จะช่วยลดความเสี่ยงที่น้ำฝนล้นรางน้ำฝน ไหลเข้าอาคาร จากกรณีที่ฝนตกหนักมากกว่าปกติ หรือระบบระบายน้ำฝน มีปัญหาจากการอุดตัน ควรติดตั้ง Overflow เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับอาคาร
กรณีที่โครงการมีข้อจำกัดเรื่องการทำ Overflow ที่รางน้ำฝน สามารใช้ Secondary System แทนการติดตั้ง Overflow ระบบ Secondary จะเริ่มทำงาน เมื่อความสูงของน้ำในรางอยู่ที่ระดับ 8 ซม. จากการที่ระบบระบายน้ำฝนหลักระบายไม่ทัน