- ระบบ Siphonic
- หลักการของระบบ JAS Siphonic
หลักการของระบบ JAS Siphonic
หลักการของระบบระบายน้ำฝนไซโฟนิค คือการทำให้ระบบระบายน้ำฝนแบบเต็มท่อ โดยมีหัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ทำให้หน้าที่ป้องกันอากาศลงไปในระบบท่อ ต่างจากระบบระบายน้ำฝนแบบเก่า ที่อากาศจะถูกดึงลงไปในระบบท่อ ทำให้ระบายน้ำได้น้อยและต้องใช้ท่อขนาดใหญ่ เพราะต้องเผื่อพื้นที่ให้อากาศ ขนาดท่อน้ำฝนของระบบระบายน้ำฝนไซโฟนิค จะถูกคำนวณอย่างละเอียด ให้พอดีกับปริมาณน้ำที่ต้องการระบาย หากเล็กเกินไปจะทำให้ระบายไม่ทัน หากใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำไม่เต็มท่อ ต้องคำนวณและปรับขนาดท่อให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำตลอดทั้งเส้น

ในช่วงเริ่มต้น ที่ฝนตกน้อย ระบบระบายน้ำฝนไซโฟนิค จะทำงานเหมือนระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้ ความดันในระบบท่อเท่ากับความดันบรรยากาศ เมื่อฝนตกหนักขึ้น หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic จะป้องกันไม่ให้อากาศลงไปในท่อ น้ำจะเริ่มไหลแบบเต็มท่อ และความดันในท่อจะเปลี่ยนไปเป็นความดันลบ (Negative Pressure) ทำให้เกิดแรงดูดในระบบท่อ ระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนการเกิดระบบ Siphonic

Gravity Flow
ในช่วงที่ความเข้มฝนต่ำ ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมายังมีไม่มาก น้ำที่ไหลลงไปในท่อยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดเป็นระบบ Siphonic การไหลภายในท่อจึงยังคงเป็นแบบกราวิตี้

Plug Flow
เมื่อความเข้มฝนเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำที่ไหลลงไปในท่อก็จะเพิ่มขึ้น การไหลภายในท่อจะเริ่มเปลี่ยนเป็นแบบ plug flow จากการระบายน้ำไม่ทันเนื่องจากใช้ท่อขนาดเล็กเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของ self-cleaning

Bubble Flow
น้ำเริ่มเต็มท่อแต่ยังมีฟองอากาศเล็กๆผสมอยู่

Full Bore Flow
ในช่วงที่ความเข้มฝนสูงน้ำฝนไหลลงไปแบบเต็มท่อ ไม่มีแม้ฟองอากาศ ทำให้ความดันในท่อต่ำกว่าความดันบรรยากาศ เกิดแรงดูดในท่อทำให้ระบายน้ำฝนออกได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพ