บทความ

ทำไมต้องใช้ระบบระบายน้ำฝนJAS Siphonic
ทำไมต้องใช้ระบบระบายน้ำฝนJAS Siphonic

ทำไมต้องใช้…ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic?

ฤดูฝนของประเทศไทย ในช่วงหลังมานี้ มักจะมีแนวโน้มที่ปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น ฝนตกหนัก ตกนานต่อเนื่อง และเกิดพายุฝนบ่อยครั้ง ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ การระบายน้ำฝนจากบนหลังคาก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง หากไม่เตรียมการรับมือไว้ อาจะเกิดเหตุการณ์ที่ระบายน้ำฝนไม่ทัน จนล้นรางไหลเข้าอาคาร ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินได้ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ เช่น สนามบิน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ มูลค่าความเสียหายยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย


สิ่งแรกที่ควรระวังคือ หมั่นดูแลทำความสะอาดรางน้ำฝน อย่าให้มีขยะ เศษใบไม้ ไปอุดตันสะสมบริเวณหัวระบายน้ำฝน ควรดูแลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน


อย่างที่ 2 จากแนวโน้มของฝนที่ตกหนักขึ้น การออกแบบระบบระบายน้ำฝนสำหรับอาคารที่สร้างใหม่ จะต้องให้ความสำคัญในการเลือกค่าความเข้มฝน (Rainfall Intensity) ที่ใช้ในการออกแบบให้มีค่าสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และเหมาะสมต่อพื้นที่ตั้งของโครงการ


การออกแบบให้มีระบบระบายน้ำฝนมีความปลอดภัยสูงขึ้น ก็จะตามมาด้วยวัสดุที่ใช้ทำระบบน้ำฝนต้องมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหัวระบายน้ำฝน ปริมาณท่อ ตำแหน่งท่อน้ำฝน ตำแหน่งบ่อ manhole เพื่อให้รองรับปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นได้อย่างเพียงพอ Cost ในการติดตั้งก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจของเจ้าของโครงการ


ระบบระบายน้ำฝนแบบไซโฟนิค คือทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้เจ้าของโครงการได้ระบบระบายน้ำฝนที่มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ Cost ในการติดตั้งลดลง เป็นระบบที่ระบายน้ำฝนได้ประสิทธิภาพสูงสุด เร็วกว่าระบบระบายน้ำฝนแบบเก่า สูงถึง 10 เท่า

ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic (ไซโฟนิค) คืออะไร?

     หลักการของระบบระบายน้ำฝน Siphonic (ไซโฟนิค) คือการทำให้ระบบระบายน้ำฝนแบบเต็มท่อ โดยมีหัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ทำหน้าที่ป้องกันอากาศลงไปในระบบท่อ ต่างจากระบบระบายน้ำฝนแบบเก่าที่อากาศจะถูกดึงลงไปในระบบท่อ ทำให้ระบายน้ำได้น้อยและต้องใช้ท่อขนาดใหญ่ เพราะต้องเผื่อพื้นที่ให้อากาศขนาดท่อน้ำฝนของระบบระบายน้ำฝน Siphonic (ไซโฟนิค) จะถูกคำนวณอย่างละเอียด ให้พอดีกับปริมาณน้ำที่ต้องการระบาย หากเล็กเกินไปจะทำให้ระบายไม่ทัน หากใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำไม่เต็มท่อ ต้องคำนวณและปรับขนาดท่อน้ำฝนให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำตลอดทั้งเส้น

     ระบบระบายน้ำฝน Siphonic เป็นระบบที่ใช้มาตรฐานการออกแบบของประเทศอังกฤษและอเมริกา และใช้ software ในการออกแบบขนาดท่อ ความเร็ว และแรงดัน ที่ได้รับการรับรองจากประเทศอังกฤษ จึงมั่นใจได้ว่าระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic เป็นระบบระบายน้ำฝนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง ผ่านการออกแบบมาแล้ว มากกว่า 1,000 โครงการ

ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic vs Gravity


ระบบระบายน้ำฝนมีอยู่ 2 แบบ คือ ระบบระบายน้ำฝนแบบเก่าหรือที่เรียกว่าระบบกราวิตี้ และระบบระบายน้ำฝนแบบไซโฟนิค มีข้อแตกต่างกันดังนี้

ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic

การระบายน้ำฝนแบบกราวิตี้ คือการที่ปล่อยให้น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ
1.  หัวระบายน้ำฝนป้องกันไม่ให้อากาศลงไปในท่อและยอมให้ขยะไหลลงท่อได้บางส่วน
2. ท่อแนวนอนไม่ต้องทำให้มีความลาดเอียง
3. ใช้ท่อน้ำฝนขนาดเล็กและใช้จำนวนท่อน้อยกว่า
4. ใช้บ่อ manhole แค่บางจุด
5. ออกแบบได้อย่างอิสระ เลือกจุดลงท่อได้ตามต้องการ
6. สามารถดึงน้ำไปที่บ่อเก็บน้ำได้โดยไม่ต้องใช้ปั๊ม ท่อใต้ดินไม่ต้องทำให้ลาดเอียง
7. ไปลดต้นทุนของโครงการโดยรวม
8. ใช้ Software ในการคำนวณหาขนาดท่อ
ดูเพิ่มเติม

ระบบระบายน้ำฝนแบบ Gravity

การระบายน้ำฝนของระบบ JAS Siphonic คือการระบายน้ำฝนแบบเต็มท่อ ป้องกันอากาศลงไปในระบบท่อ
การระบายน้ำฝนของระบบ JAS Siphonic คือการระบายน้ำฝนแบบเต็มท่อ ป้องกันอากาศลงไปในระบบท่อ
1. ตะแกรงหัวน้ำฝนไม่ป้องกันอากาศ ป้องกันขยะไม่ให้ลงไปในท่อ
2. ท่อแนวนอนต้องทำให้มีความลาดเอียง เพื่อช่วยให้น้ำไหลเร็วขึ้น
3. ใช้ท่อน้ำฝนขนาดใหญ่และใช้จำนวนมาก
4. ต้องมีบ่อ manhole รองรับหลายจุด
5. มีข้อจำกัดในการออกแบบ ไม่สามารถเดินท่อแนวนอนระยะไกลได้
6. ค่าใช้จ่ายในการทำระบบ ค่อนข้างสูง
7. หาขนาดท่อโดยการเปิดตาราง

หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic vs ตะแกรงหัวน้ำฝน Gravity

หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ป้องกันอากาศลงในระบบท่อ ระบายน้ำได้อิสระ 3 ช่องทางหลัก
หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ป้องกันอากาศลงในระบบท่อ ระบายน้ำได้อิสระ 3 ช่องทางหลัก

หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic

ถูกออกแบบให้ดูเรียบง่าย โดยนำหลักการทางวิศวกรรม และหลักกลศาสตร์ของไหลมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะ แผ่น Anti-Vortex Plate ที่เป็นเอกลักษณ์ของ JAS Siphonic หน้าที่สำคัญคือป้องกันอากาศลงไปในระบบ ท่อน้ำฝน เพื่อทำให้ภายในระบบท่อเกิดแรงดูด นอกจากการ ป้องกันอากาศ ด้วยรูปทรงหัวระบายน้ำฝนแบบโปร่งโล่ง มีช่องว่างที่ยอมให้ขยะหรือเศษใบไม้ขนาดเล็กไหลเข้าไปได้ เพื่อลดการอุดตันสะสมบริเวณหัวระบายน้ำฝน
ตะแกรงหัวน้ำฝน Gravity ลักษณะเป็นตะแกรงทำหน้าที่เพียงป้องกันขยะไม่ให้ลงไปอุดตันในท่อ
ตะแกรงหัวน้ำฝน Gravity ลักษณะเป็นตะแกรงทำหน้าที่เพียงป้องกันขยะไม่ให้ลงไปอุดตันในท่อ

ตะแกรงหัวน้ำฝน Gravity

ลักษณะเป็นตะแกรงทำหน้าที่เพียงป้องกันขยะไม่ให้ลงไปอุดตัน ในท่อ เมื่อขยะไม่สามารถลงไปได้ก็จะค้างอยู่ในรางระบายน้ำฝน อุดตันสะสมบริเวณหัวระบายน้ำฝน ยิ่งนานวันก็จะสะสมอุดตัน มากขึ้นทำให้ระบายน้ำฝนไม่ทัน เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำล้นรางไหล เข้าอาคาร ทำความเสียหายได้

หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ดีกว่า ตะแกรงหัวน้ำฝน Gravity ยังไง?

หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ไม่เพียงแค่ทำหน้าที่เป็นหัวระบายน้ำทั่วไป แต่เป็นแนวคิดใหม่สำหรับการ แก้ปัญหาระบบระบายน้ำฝนแบบยั่งยืน ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากการเคลื่อนไหว และการ สะสมของเนินทรายในทะเลทราย ที่ทรายจะเคลื่อนที่ไปตามแนวที่ต้านลม

หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic มีหลากหลายรุ่น โดยแบ่งตามปริมาณน้ำ และลักษณะของหลังคา สามารถใช้กับท่อได้หลายชนิด โดยจุดเด่นหลักของหัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic คือ สามารถระบายน้ำฝน ได้อย่างอิสระ 3 ช่องทางหลัก แม้โดนขวางทางน้ำไหลในทางใดยังมีช่องว่างที่สามารถระบายได้เต็ม ประสิทธิภาพเหมือนเดิม
หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ระบายน้ำฝนได้ 3 ช่องทางห
หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ระบายน้ำฝนได้ 3 ช่องทางห
และอีกหนึ่งจุดเด่นหลักที่ต้องพูดถึงคือ การออกแบบให้มีขนาดช่องว่างที่เหมาะสมเพื่อระบายขยะหรือ เศษใบไม้ขนาดเล็กลงไปในท่อ โดยไม่เกิดการอุดตันที่หัวระบายน้ำและภายในระบบท่อ ในขณะที่ตะแกรงหัวน้ำฝน กราวิตี้ ไม่สามารถปล่อยให้ขยะเหล่านี้ไหลลงไปในท่อได้ เพราะภายในระบบท่อกราวิตี้ น้ำในท่อไม่มีแรงมากพอ ที่จะพัดขยะนี้ออกไป หากปล่อยสะสมไว้ในท่อมากขึ้น จะทำให้ท่ออุดตัน ไม่สามารถระบายน้ำได้ แตกต่างจาก หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic ที่สามารถทำได้ เนื่องจากเมื่อระบบทำงานแบบ Siphonic จะเกิดแรงดูดภาย ในท่อด้วยความเร็วสูง ( 1-8 m/s) มีความแรงมากพอที่จะพาขยะ เศษใบไม้ ทราย หรือแม้กระทั่งหิน ให้หลุดออกไปที่ปลายท่อได้ ทำให้ลดปัญหาการอุดตันสะสมทั้งที่รางน้ำฝนและภายในระบบท่อได้เป็นอย่างดี จึงทำให้สามารถทำความสะอาดระบบได้ด้วยตัวเอง (Self-Cleaning)
หัวระบายน้ำฝน JAS Siphonic มีให้เลือกหลากหลายรุ่น แบ่งตามปริมาณน้ำ และลักษณะของหลังคา

ท่อน้ำฝน อีกส่วนสำคัญของระบบระบายน้ำฝน

ท่อน้ำฝน มีบทบาทสำคัญในการปกป้องความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำฝน โดยทำหน้าที่ในการรวบรวม และระบายน้ำฝนจากหลังคาลงสู่พื้นดิน หากไม่มีท่อน้ำฝน น้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคาโดยตรงอาจทำให้ เกิดปัญหาต่างๆ เช่น
การกัดเซาะของดิน : น้ำฝนที่ไหลลงมาแรงๆ อาจกัดเซาะทำให้เกิดหลุม หรือทำให้ดินทรุดตัว
ความเสียหายต่อโครงสร้าง : น้ำฝนที่ขังอยู่ตามผนังหรือฐานราก อาจซึมเข้าไปทำให้เกิดความเสียหายต่อ
โครงสร้างได้
ความเสียหายต่อพื้นที่โดยรอบ : น้ำฝนที่ไหลบ่าอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง หรือทำให้พื้นที่โดยรอบสกปรก

ท่อน้ำฝน มีกี่ประเภท?

ท่อน้ำฝนมีกี่ประเภท หลักมี 6 ประเภท แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำ ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน
ท่อน้ำฝนมีกี่ประเภท หลักมี 6 ประเภท แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำ ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน
ท่อน้ำฝนสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ตามวัสดุที่ใช้ทำ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป

1. ท่อน้ำฝนอะลูมิเนียม : เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีความทนทานต่อการกัดกร่อนและ มีน้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีให้เลือกหลายสี

2. ท่อน้ำฝนสังกะสี : มีราคาถูกกว่าท่อน้ำฝนอะลูมิเนียม แต่ก็มีความทนทานน้อยกว่า และอาจเกิดสนิมได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

3. ท่อน้ำฝนสแตนเลส : มีความทนทานสูง ไม่เป็นสนิม และมีอายุการใช้งานยาวนาน แต่ก็มีราคาแพงกว่า ท่อน้ำฝนประเภทอื่นๆ

4. ท่อน้ำฝนไวนิล : มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และไม่เป็นสนิม แต่ก็มีความทนทานต่อแรงกระแทกน้อยกว่า ท่อน้ำฝนประเภทอื่นๆ

5. ท่อน้ำฝนทองแดง : มีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ก็มีราคาแพงที่สุด

6. ท่อ HDPE : มีคุณสมบัติ น้ำหนักเบา เหนียว มีความยืดหยุ่น ท่อมีหลายขนาด ทนแรงดันได้สูงกว่าท่อ U-PVC เป็นท่อที่มีคุณสมบัติแข็ง ไม่มีความยืดหยุ่น เมื่อรับแรงดันมากๆ จะทำให้เกิดการระเบิด ฉะนั้น ท่อ HDPE จึงเหมาะกับระบบระบายน้ำฝนที่มีแรงดันภายในท่อ หรือก็คือระบบ Siphonic (ไซโฟนิค)

ทำระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic ถึงเลือกใช้ ท่อน้ำฝน HDPE ?

ท่อ HDPE (High-Density Polyethylene) คือท่อที่ผลิตมาจากโพลีเอธิลีนที่มีความหนาแน่นสูง แข็งแรง ทนทานต่อแรงดัน และการกัดกร่อนได้ดี และยังสามารถทนแรงดันติดลบได้ดี จึงเหมาะกับการใช้เป็น ท่อน้ำฝนในระบบ Siphonic (ไซโฟนิค) การที่ใช้ท่อ HDPE จะใช้วิธีต่อท่อโดยวิธีเชื่อมชน ทำให้ท่อหลอมติด เป็นเนื้อเดียวกัน รอยต่อ มีความแข็งแรง ไม่รั่วซึม ซึ่งท่อและข้อแบบของ U-PVC ใช้การต่อแบบทางกาว แล้วสอดซึ่งมีโอกาสรั่วซึมมากกว่า
ท่อHDPE แข็งแรง ทนทานต่อแรงดัน และทนต่อการกัดกร่อนได้ดี และยังสามารถทนแรงดันติดลบได้ด
ท่อHDPE แข็งแรง ทนทานต่อแรงดัน และทนต่อการกัดกร่อนได้ดี และยังสามารถทนแรงดันติดลบได้ด
ท่อ HDPE เป็นท่อที่เหมาะสำหรับระบบระบายน้ำฝน Siphonic มากที่สุด เพราะเป็นท่อที่มีความหนาแน่
ท่อ HDPE เป็นท่อที่เหมาะสำหรับระบบระบายน้ำฝน Siphonic มากที่สุด เพราะเป็นท่อที่มีความหนาแน่

คุณสมบัติที่โดดเด่น ของท่อ HDPE

  • มีความยืดหยุ่นสูง : เหมาะสำหรับใช้เป็นท่อน้ำฝน ในระบบ Siphonic ที่ทนต่อแรงดันติดลบ (Negative Pressure) ภายในท่อ และทนต่อแรงกระแทกได้ดี
  • คุ้มค่าต่อการลงทุน : มีประสิทธิภาพสูง และมีอายุการใช้งานยาวนาน
  • ติดตั้งด้วยวิธีการเชื่อม : โดยให้ความร้อน ทำให้รอยเชื่อมหลอมเป็นเนื้อเดียว แข็งแรง ปราศจากการรั่วซึม
  • มีความแข็งแรงสูง : และมีความทนทานต่อแรงดันมาก สามารถทนทานได้ต่อการแตกตัว และสามารถ ใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และสามารถทนต่อแสงแดด อากาศ และ สารเคมีต่าง ๆ
  • มีความทนทานต่อสารเคมีหลายชนิด : ซึ่งทำให้เป็นวัสดุที่นิยมใช้ในงานหลายประเภท เช่น ท่อน้ำประปา ท่อระบายน้ำ ท่อระบายน้ำฝน ท่อร้อยสายไฟ ท่อในเหมือง เป็นต้น
  • สามารถทนความร้อนได้ดี : สามารถทนอุณหภูมิสูงได้โดยไม่เกิดการละลายหรือผิดรูป ซึ่งทำให้เป็นวัสดุที่ เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาวะอุณหภูมิสูง
  • ทนทานต่อรังสี UV : ซึ่งทำให้เป็นวัสดุที่สามารถใช้งานกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพ จากแสงแดด
  • Scroll to Top